เปลี่ยน...ก่อนสภาพอากาศเปลี่ยน

 
การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เร่งอัตราการใช้งานบริการพื้นฐานอย่างการเชื่อมต่อในประเทศไทย โดยอัตราการใช้งานเฉลี่ยของลูกค้าดีแทคนั้นสูงถึง 20 GB ต่อคน การเติบโตดังกล่าวนำไปสู่การใช้พลังงานในโครงข่ายสัญญาณที่เพิ่มขึ้น โดยปัจจุบันคิดเป็นสัดส่วนกว่า 97% ของการใช้พลังงานในการดำเนินธุรกิจทั้งหมดของดีแทค
 
ด้วยเหตุนี้ ดีแทคจึงได้ประกาศเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจกลง ‘ครึ่งหนึ่ง’ ภายในปี 2573 ผ่านการใช้พลังงานหมุนเวียน และการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานในโครงข่ายสัญญาณและดาต้าเซ็นเตอร์ พร้อมทั้งมุ่งมั่นลดขยะฝังกลบเป็นศูนย์ภายในปี 2565
 
 
รู้หรือไม่! แค่ปรับจอให้เป็นขาวดำก็ประหยัดพลังงานไปถึง 20% คุณก็มีส่วนในการช่วยลดสภาวะอากาศรวนได้!

การเติบโตทางดิจิทัล และแนวโน้มการใช้พลังงานที่สูงขึ้น

การขยายโครงข่ายในไทยเติบโตเฉลี่ย 7% ซึ่งสูงกว่าค่าเฉลี่ยทั่วโลกที่เติบโตเฉลี่ยเพียง 4.2% ต่อปี 
 
อุตสาหกรรมโทรคมนาคมใช้พลังงานรวมคิดเป็น 2-3% ของความต้องการพลังงานทั้งโลก แม้สัดส่วนการใช้งานจะค่อนข้างน้อย แต่มีแนวโน้มการบริโภคที่มากขึ้น และถือเป็นกิจกรรมที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ก็อาจทำให้ปริมาณการใช้พลังงานมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ อีกด้วย
 
ที่มา : GSMA ปี 63
 

คนไทยซื้อสมาร์ทโฟนอันดับ 1 ของอาเซียน คิดเป็น 20.9 ล้านเครื่อ

การแพร่ระบาดของโควิด-19 ผลักดันให้มีการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งคอมพิวเตอร์ แท็บเล็ตและอุปกรณ์มือถือต่อคนต่อครัวเรือนสูงขึ้น เนื่องด้วยวิถีการทำงานแบบใหม่และการเรียนออนไลน์ ปัจจุบัน ผู้บริโภคชาวไทยมีอัตราการใช้งานอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เฉลี่ย 5 ชิ้นต่อคน และมีเลขหมายใช้งานในไทยกว่า 142 ล้านเลขหมาย โดย 45 ล้านเลขหมายใช้กับอุปกรณ์ไอที และ 97 ล้านเลขหมายใช้กับสมาร์ทโฟน
 
 
 

 เปลี่ยนผ่าน...

 สู่พลังงานสะอาด 

 
การใช้พลังงานของดีแทคนั้นกระจุกตัวอยู่ในฝั่งโครงข่าย ศูนย์ดาต้า และศูนย์ชุมสาย โดยอุปกรณ์โครงข่ายและระบบทำความเย็นนั้นเป็นปัจจัยสำคัญในการใช้ไฟฟ้า ทั้งนี้ ความต้องการใช้พลังงานในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมนั้นมีแนวโน้มเติบโตสูงขึ้นอันเนื่องมาจากอัตราการใช้งานดาต้าที่เพิ่มขึ้นและการเพิ่มความหนาแน่นของโครงข่าย โดยแนวโน้มดังกล่าวจะเติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในยุค 5G
 
 
"พวกเราล้วนมีบทบาทในการดูแลโลก ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภค ภาครัฐ หรือภาคเอกชน แต่ในฐานะองค์กรธุรกิจ เรายังมีบทบาทที่สำคัญในการสร้างสรรค์สังคมที่ดียิ่งขึ้น ทุกๆ คนล้วนมีทางเลือกในมิติแห่งความยั่งยืน ซึ่งคือการเปลี่ยนผ่านจากเศรษฐกิจที่พึ่งพาพลังงานฟอสซิลสู่พลังงานสะอาด และการเปลี่ยนผ่านนี้ต้องอาศัยความชัดเจนในเชิงกลยุทธ์ ความมุ่งมั่น และการลงทุน”
นัฟนีท นายัน ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานฝั่งกลยุทธ์ วิเคราะห์ และบริหารการเงิน
"พวกเราล้วนมีบทบาทในการดูแลโลก ไม่ว่าจะเป็นผู้บริโภค ภาครัฐ หรือภาคเอกชน แต่ในฐานะองค์กรธุรกิจ เรายังมีบทบาทที่สำคัญในการสร้างสรรค์สังคมที่ดียิ่งขึ้น ทุกๆ คนล้วนมีทางเลือกในมิติแห่งความยั่งยืน ซึ่งคือการเปลี่ยนผ่านจากเศรษฐกิจที่พึ่งพาพลังงานฟอสซิลสู่พลังงานสะอาด และการเปลี่ยนผ่านนี้ต้องอาศัยความชัดเจนในเชิงกลยุทธ์ ความมุ่งมั่น และการลงทุน”
 
เรามุ่งเน้นการดำเนินงานในสามมิติ เพื่อยกระดับประสิทธิภาพการใช้พลังงานและลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในโครงข่ายสัญญาณ
 
1. การใช้ประโยชน์จากพลังของข้อมูลเพื่อการวิเคราะห์และระบุถึงจุดอ่อนและช่องว่างในการใช้พลังงาน เพื่อประโยชน์ต่อการใช้พลังงานไฟฟ้าที่ลดลงและการลงทุนที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
 
2. การลงทุนอย่างตรงจุดในพลังงานหมุนเวียนและการติดตั้งระบบทำความเย็น เพื่อควบคุมอุณหภูมิอุปกรณ์โครงข่าย
 
3. การทำงานร่วมกับภาครัฐ หน่วยงานด้านการกำกับดูแล และผู้เล่นในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม เพื่อร่วมหาโอกาสในการพัฒนาแหล่งพลังงานทดแทนและการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
 
อ่านต่อ dtacblog.co
 
 

 ลดก๊าซเรือนกระจก 

 ด้วยพลังของข้อมูล 

 
ปัจจุบัน โมเดลสถานีฐานพลังงานแสงอาทิตย์ได้รับความสนใจมากขึ้น ทว่าการปรับใช้โซลูชั่นดังกล่าวในวงกว้างยังเป็นเรื่องที่ท้าทาย โดยเฉพาะประเด็นด้านการลงทุนและวิศวกรรม ด้วยเหตุนี้ ทีมงานโครงข่ายจึงได้ผนึกกำลังกับทีมวิเคราะห์ข้อมูลของดีแทค เพื่อช่วยในการจัดลำดับความสำคัญของการลงทุนเพื่อเปลี่ยนผ่านการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ
 
 

 ตั้งเป้าเปลี่ยนผ่าน 500 เสา 

 สู่พลังงานแสงอาทิตย์ ภายในสิ้นปี 2565 

 

“การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานแสงอาทิตย์ถือเป็นความคุ้มค่าทั้งมิติการลงทุน สังคมและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากราคาที่ต่ำลงของแผงโซลาร์เซลล์และประสิทธิภาพที่ดีขึ้นของเทคโนโลยี ซึ่งช่วงนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นจุดหักเหสำคัญของการเปลี่ยนผ่านพลังงานแสงอาทิตย์เลยทีเดียว"
ชำนาญ เทียมนุช ผู้จัดการอาวุโส การวางแผนความครอบคลุมและโครงสร้างพื้นฐาน
“การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานแสงอาทิตย์ถือเป็นความคุ้มค่าทั้งมิติการลงทุน สังคมและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากราคาที่ต่ำลงของแผงโซลาร์เซลล์และประสิทธิภาพที่ดีขึ้นของเทคโนโลยี ซึ่งช่วงนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นจุดหักเหสำคัญของการเปลี่ยนผ่านพลังงานแสงอาทิตย์เลยทีเดียว"
 
ในปีที่ 2564 ที่ผ่านมา มีโครงข่ายที่ได้เปลี่ยนผ่านสู่พลังงานแสงอาทิตย์ไปแล้ว 25 สถานี ตัวอย่างเช่น จ.ภูเก็ต เกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี เกาะสิมิลัน จ.พังงา จ.เชียงใหม่ จ.จันทบุรี และตั้งเป้าเพิ่มอีก 500 สถานีภายในปี 2565 นอกจากนี้ ยังได้ศึกษารูปแบบการขยายสถานีฐานพลังงานแสงอาทิตย์ผ่านโมเดล ‘ร่วมลงทุน (Co-investment)’ กับพาร์ทเนอร์อุปกรณ์ส่งสัญญาณอีกด้วย
 
อ่านต่อ dtacblog.co
 

 #ทิ้งให้ดีทิ้งที่ดีแทค 

 

เราเดินหน้าแก้ไขปัญหา เพิ่มการมีส่วนร่วมทั้งภายในและภายนอกองค์กร ผ่านการประกาศเป้าหมายลดขยะฝังกลบทั้งหมดที่เกิดขึ้นจากการดำเนินธุรกิจให้เป็น ‘ศูนย์’ (zero landfill) ภายในปี 2565

 

 ขยะมูลฝอย 

 
เรามีการจัดการขยะ (Waste Management) อย่างเป็นระบบ โดยเราได้จัดให้มีการแยกขยะ 6 ประเภท ภายในสำนักงาน เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทั้งพนักงาน อีกทั้งยังคัดเลือกผู้ให้บริการจัดการขยะที่มีมาตรฐานอีกด้วย
 

 ขยะอิเล็กทรอนิกส์ 

 

ในปี 2563 ดีแทคริเริ่มโครงการ ‘ทิ้งให้ดี’ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้พนักงาน ลูกค้า และผู้บริโภคทั่วไป มีส่วนร่วมในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มอุปกรณ์สื่อสารและอุปกรณ์ไอทีขนาดเล็ก เช่น โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต สมาร์ทวอชท์ และอุปกรณ์เสริมต่างๆ ทั้งนี้ ดีแทคได้ร่วมกับบริษัท เทส ประเทศไทย จำกัด รับขยะอิเล็กทรอนิกส์ไปกำจัดอย่างถูกวิธี เพื่อคืนโลหะมีค่าและวัตถุดิบสำคัญ สู่กิจกรรมทางเศรษฐกิจใหม่ได้ 96-98% ของจำนวนขยะที่เก็บได้

 

ดาวน์โหลดเอกสาร

การสอบทานข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดย LRQA (Thailand) Ltd. 

PDF 0.07 MB