การขยายโครงข่ายอย่างมีความรับผิดชอบ

ดีแทคมุ่งมั่นที่จะยึดถือและปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด เพื่อให้มั่นใจว่าลูกค้าและผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชนจะได้รับประโยชน์จากการใช้งาน และมั่นใจได้ถึงความปลอดภัยจากการรับส่งสัญญาณที่ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ

องค์การอนามัยโลกให้ความสำคัญต่อชีวิตและสุขภาพในเรื่องความปลอดภัยจากเสาสัญญาณมือถือ

เสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือ เป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปในทุกประเทศทั่วโลก ทั้งในเมืองใหญ่และในชนบท สะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็นในการใช้งานโทรศัพท์มือถือของคนหลายพันล้านคนทั่วโลก ที่ต้องการสัญญาณที่ครอบคลุม เชื่อมต่อถึงกันได้แบบไม่ขาดตอน ไม่ใช่เพียงการพูดคุยเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและบริการพื้นฐานต่างๆ ถือเป็นการยกระดับมาตรฐานคุณภาพชีวิตให้ดียิ่งขึ้น

ตามรายงานของ สมาคมจีเอสเอ็ม (GSMA) เทคโนโลยีและบริการโทรศัพท์มือถือสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ 4.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (4.7% ของ GDP) ทั่วโลกในปี พ.ศ. 2562 โดยมูลค่าจะเพิ่มขึ้นสู่ 5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ (4.9% ของ GDP) ภายในปี พ.ศ. 2567 จากการที่ประเทศต่างๆ ทั่วโลกได้รับประสิทธิภาพจากการเพิ่มขึ้นของการให้บริการโทรศัพท์มือถือ ซึ่งนำไปสู่ประโยชน์การใช้งานอย่างมหาศาลในทุกพื้นที่ที่เข้าถึงสัญญาณและครอบคลุมการให้บริการ

แน่นอนว่า คนไทยทั้ง 70 ล้านคนมีความจำเป็นต้องใช้โทรศัพท์มือถือ รวมถึงยังใช้เพื่อประโยชน์อื่นๆ เช่น การเรียนทางไกล การแพทย์ทางไกล เป็นต้น ดังนั้น การขยายเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือ เพื่อส่งสัญญาณให้ครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ เพื่อการใช้งานจึงมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือจะมีมาตรฐานรับรอง อีกทั้งยังเป็นสาธารณูปโภคที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการยกระดับสู่ดิจิทัล ก็อาจจะมีการตั้งคำถามถึงผลกระทบต่อสุขภาพแม้ว่าจะมีรายงานทางวิทยาศาสตร์จากองค์การระดับโลกต่างๆ ที่ออกมาให้ความเชื่อมั่นเรื่องความปลอดภัย

จากการศึกษาข้อมูลจำนวนมากขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO ระบุว่า เสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือทั่วโลกมีการส่งสัญญาณคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าประเภทคลื่นความถี่ต่ำ หรือ Non-ionizing radiation โดยมีการทดสอบแล้วไม่พบหลักฐานว่ามีผลกระทบต่อสุขภาพร่างกาย เช่นเดียวกัน คลื่นวิทยุ และโทรทัศน์ ที่ใช้กันมายาวนานมากกว่าศตวรรษ

เสาสัญญาณมือถือมีความสำคัญเป็นอย่างมากในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อให้แน่ใจว่าสัญญาณจะครอบคลุมอย่างต่อเนื่อง ด้วยจำนวนเสาสัญญาณที่ครอบคลุมพื้นที่มากขึ้นจะทำให้การใช้บริการโทรเข้า-รับสายจะมีคุณภาพมากขึ้น การใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือก็จะมีความเร็วในการดาวน์โหลดเร็วขึ้น และรับชมวิดีโอได้อย่างต่อเนื่อง โดยทุกๆ ปีประเทศไทยจะมีปริมาณการใช้ดาต้ามือถือเพิ่มขึ้น ล่าสุดจำนวนการใช้งานดาต้าเพิ่มถึง 11 กิกะไบต์ต่อคนต่อเดือนในปี พ.ศ. 2562

นอกจากเสาสัญญาณมือถือจะมีความสำคัญยิ่งต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์แล้ว เสาสัญญาณมือถือยังปลอดภัยต่อสุขภาพ ตามรายงานขององค์การอนามัยโลก หรือ WHO ระบุว่ามีการตรวจสอบผลศึกษาระบาดวิทยาในการเกิดมะเร็งในทางวิทยาศาสตร์นาน 15 ปี ไม่พบหลักฐานว่าคลื่นความถี่จากเสาสัญญาณจะทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็ง โดยผลสรุปจากการศึกษาที่เกี่ยวข้องดังกล่าวทำให้มั่นใจได้ว่าเสาสัญญาณมือถือไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ

ปัจจุบันมีเสาสัญญาณมือถือทั่วโลกมากกว่า 6 ล้านเสา ขณะที่ในประเทศไทยมีเสาสัญญาณกระจายอยู่ประมาณ 6 หมื่นเสาทั่วประเทศ และมีเสาสัญญาณเพื่อให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่มาต่อเนื่องยาวนานมากกว่า 30 ปี โดยมีการตรวจสอบรับรองมาตรฐานและอนุญาตให้ใช้อุปกรณ์รับส่งสัญญาณจาก สำนักงาน กสทช.

ดีแทคมุ่งมั่นที่จะยึดถือและปฏิบัติตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด เพื่อให้มั่นใจว่าลูกค้าและผู้ที่เกี่ยวข้องในชุมชนจะได้รับประโยชน์จากการใช้งาน และมั่นใจได้ถึงความปลอดภัยจากการรับส่งสัญญาณที่ไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพ

การทำงานเพื่อเร่งขยายเครือข่าย มีขั้นตอนที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด ดังนี้

1

ศึกษาและกำหนดพื้นที่

ในการตั้งเสาสัญญาณ

1

ศึกษาและกำหนดพื้นที่

ในการตั้งเสาสัญญาณ

2

ติดต่อทำสัญญากับเจ้าของพื้นที่ที่แท้จริง

หรือผู้มีอำนาจอย่างถูกต้องตามกฏหมาย

2

ติดต่อทำสัญญากับเจ้าของพื้นที่ที่แท้จริง

หรือผู้มีอำนาจอย่างถูกต้องตามกฏหมาย

3

ทำความเข้าใจกับชุมชน

3

ทำความเข้าใจกับชุมชน

4

ขอใบอนุญาตการก่อสร้างเสาสัญญาณ

จากหน่วยงานราชการในพื้นที่และขออนุญาตการใช้งานจากกสทช.

4

ขอใบอนุญาตการก่อสร้างเสาสัญญาณ

จากหน่วยงานราชการในพื้นที่และขออนุญาตการใช้งานจากกสทช.

5

ดำเนินการก่อสร้าง

โดยคัดเลือกบริษัทก่อสร้างและผู้รับเหมาก่อสร้างตามกฏระเบียบอย่างเคร่งครัด เพื่อก่อสร้างเสาสัญญาณให้ถูกต้องตามหลักวิศวกรรมและมาตรฐานความปลอดภัย

5

ดำเนินการก่อสร้าง

โดยคัดเลือกบริษัทก่อสร้างและผู้รับเหมาก่อสร้างตามกฏระเบียบอย่างเคร่งครัด เพื่อก่อสร้างเสาสัญญาณให้ถูกต้องตามหลักวิศวกรรมและมาตรฐานความปลอดภัย

6

เปิดใช้งานเสาสัญญาณ

6

เปิดใช้งานเสาสัญญาณ

7

ดูแลตรวจสอบ และซ่อมบำรุง

โดยมีทีมงานที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับรองความปลอดภัยและประสิทธิภาพของเสาสัญญาณ

7

ดูแลตรวจสอบ และซ่อมบำรุง

โดยมีทีมงานที่มีความรู้และความเชี่ยวชาญอย่างสม่ำเสมอ เพื่อรับรองความปลอดภัยและประสิทธิภาพของเสาสัญญาณ