การบริหารห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน

การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน

ดีแทคยึดมั่นในการบริหารห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน โดยกำหนดหลักปฏิบัติสำหรับผู้จัดหาสินค้าและบริการอย่างเป็นธรรมและเท่าเทียมกัน รวมถึงการกำกับดูแลการทำงานของคู่ค้า เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อทั้งการดำเนินธุรกิจของบริษัท สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยบริษัทได้จัดทำคู่มือการจัดซื้อจัดจ้างที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน และเข้าใจง่าย เพื่อให้ผู้จัดหาสินค้าและบริการเชื่อมั่นในกระบวนการพิจารณาคัดเลือก

นอกจากนี้ หลักเกณฑ์ดังกล่าวยังช่วยให้บริษัทคู่ค้าสามารถรักษามาตรฐานการดำเนินธุรกิจให้เป็นไปตามกฎหมาย และกฏระเบียบเรื่องสิทธิมนุษยชน อาชีวอนามัย ความปลอดภัย สิทธิแรงงาน การรักษาสิ่งแวดล้อม และการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่น

ในปี 2561 ดีแทคได้ดำเนินการตรวจประเมินบริษัทคู่ค้าจำนวน 850 ครั้ง และจัดอบรมให้ความรู้แก่บริษัทคู่ค้ารวม 3,000 ชั่วโมง

ในระยะยาว ดีแทคมีเป้าหมายเพื่อยกระดับมาตรฐานในการบริหารห่วงโซ่อุปทาน โดยมุ่งเน้นให้มีสภาพการทำงานที่ปลอดภัย และมีจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ 

หลักการดำเนินธุรกิจของผู้จัดหาตามที่ผู้ซื้อกำหนด

บริษัทคู่ค้าที่ได้รับคัดเลือกตามกระบวนการ จะต้องลงนามในสัญญา Agreement on Responsible Business Conduct (ABC) ซึ่งจะเป็นการควบคุมการดำเนินงานของบริษัทคู่ค้าให้เป็นไปตามมาตรฐานการดำเนินธุรกิจที่ดีเช่นเดียวกับดีแทค โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องสิทธิมนุษยชน การต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน และการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม

การลงนามในสัญญา ABC จะถือเป็นการให้ความร่วมมือกับดีแทคในการเข้าตรวจประเมินการดำเนินงานของบริษัทคู่ค้า ภายใต้ "หลักการดำเนินธุรกิจของผู้จัดหาตามที่ผู้ซื้อกำหนด" หรือ Supplier Conduct Principles (SCP) 8 ข้อ ได้แก่

1

ปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

1

ปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง

2

ปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ

2

ปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ

3

ต้องไม่มีการใช้แรงงานบังคับ แรงงานเด็ก แรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมาย ยอมรับและเคารพในสิทธิเสรีภาพของพนักงาน

3

ต้องไม่มีการใช้แรงงานบังคับ แรงงานเด็ก แรงงานต่างด้าวที่ผิดกฎหมาย ยอมรับและเคารพในสิทธิเสรีภาพของพนักงาน

4

ต้องมีการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อชุมชนรอบข้างบริษัท

4

ต้องมีการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อชุมชนรอบข้างบริษัท

5

ต้องมีมาตรการและการบังคับใช้กฎระเบียบเพื่อสุขภาพที่ดี และความปลอดภัยของพนักงาน

5

ต้องมีมาตรการและการบังคับใช้กฎระเบียบเพื่อสุขภาพที่ดี และความปลอดภัยของพนักงาน

6

ต้องหลีกเลี่ยงการจัดหาแร่ที่อยู่ภายใต้ข้อขัดแย้งหรือแร่ที่ถูกขุดขึ้นอย่างไม่ยั่งยืน และมีสัมปทานเหมืองแร่ที่ถูกต้องตามกฎหมาย

6

ต้องหลีกเลี่ยงการจัดหาแร่ที่อยู่ภายใต้ข้อขัดแย้งหรือแร่ที่ถูกขุดขึ้นอย่างไม่ยั่งยืน และมีสัมปทานเหมืองแร่ที่ถูกต้องตามกฎหมาย

7

ต้องยอมรับและให้ความเคารพต่อความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพในการแสดงออกของพนักงาน และการคุ้มครองข้อมูลส่วนตัวในกระบวนการธุรกิจ

7

ต้องยอมรับและให้ความเคารพต่อความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพในการแสดงออกของพนักงาน และการคุ้มครองข้อมูลส่วนตัวในกระบวนการธุรกิจ

8

ดำเนินธุรกิจอย่างมีจรรยาบรรณ โดยแข่งขันด้วยความซื่อสัตย์ ไม่เสนอให้ เรียกร้อง รับสินบน หรือของขวัญทั้งโดยทางตรงหรือทางอ้อม

8

ดำเนินธุรกิจอย่างมีจรรยาบรรณ โดยแข่งขันด้วยความซื่อสัตย์ ไม่เสนอให้ เรียกร้อง รับสินบน หรือของขวัญทั้งโดยทางตรงหรือทางอ้อม

การตรวจประเมินบริษัทคู่ค้า

ดีแทคได้จัดตั้งหน่วยงานกำกับดูแลบริษัทคู่ค้า เพื่อทำงานร่วมกับหน่วยงานภายในดีแทคและบริษัทคู่ค้าในการกำกับดูแลให้บริษัทคู่ค้าเข้าใจและปฏิบัติตาม “หลักการดำเนินธุรกิจของผู้จัดหาตามที่ผู้ซื้อกำหนด” เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจทำให้บริษัทคู่ค้าของดีแทคมีมาตรฐานการดำเนินธุรกิจที่ขาดความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม

 

หน่วยงานกำกับดูแลบริษัทคู่ค้ามีเกณฑ์การจัดลำดับความสำคัญของบริษัทคู่ค้าเพื่อวางแผนการตรวจประเมิน ดังต่อไปนี้

  1. ประเภทธุรกิจและลักษณะการดำเนินธุรกิจ
  2. ผลจากการประเมินตนเองประจำปีโดยบริษัทคู่ค้า หรือ Supplier Self-Assessment Questionnaire (SAQ)
  3. มูลค่าสัญญาทางธุรกิจร่วมกับดีแทค
  4. ประวัติการละเมิดหรือละเว้นการปฏิบัติตาม “หลักการดำเนินธุรกิจของผู้จัดหาตามที่ผู้ซื้อกำหนด”

 

ในปี 2561 หน่วยงาน Supply Chain Sustainability ได้เข้าตรวจสอบการปฏิบัติงานบริษัทคู่ค้า จำนวน 893 ครั้ง โดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า 779 ครั้ง และพบการไม่ปฏิบัติตาม “หลักการดำเนินธุรกิจของผู้จัดหาตามที่ผู้ซื้อกำหนด” จำนวน 279 รายการ โดยดีแทคได้แจ้งเตือน รวมถึงติดตามการดำเนินงานของบริษัทคู่ค้าให้ปฏิบัติตามหลักการดังกล่าว

การอบรมให้ความรู้แก่บริษัทคู่ค้า

ดีแทคจัดอบรมให้ความรู้แก่พนักงานของบริษัทคู่ค้า (Capacity Building Program) ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่เรื่องการต่อต้านการทุจริต การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม มาตรฐานแรงงาน อาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงาน โดยปี 2561 ได้มีการเพิ่มหัวข้อ “Healthy and Balance Working Environment” เพื่อส่งเสริมให้พนักงานของบริษัทคู่ค้ามีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ดีแทคจัดให้มีการอบรม 3 รูปแบบ คือ

  1. การอบรมประจำเดือนสำหรับบริษัทคู่ค้าที่ต้องการความเข้าใจและทักษะเกี่ยวกับการนำหลักปฏิบัติฯ 8 ข้อไปดำเนินการ ขณะเดียวกัน ดีแทคได้นำข้อเสนอแนะต่างๆ ไปปรับปรุงการดำเนินงานร่วมกับบริษัทคู่ค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  2. การอบรม ณ พื้นที่ปฏิบัติงานของบริษัทคู่ค้า และการอบรมหลังจากเสร็จสิ้นการตรวจประเมิน ซึ่งจะเน้นการให้ความรู้และทักษะเพื่อแก้ไขปรับปรุงกระบวนการดำเนินงานในส่วนที่อาจก่อให้เกิดการละเมิด หรือละเว้นการปฏิบัติตามหลักปฏิบัติสำหรับบริษัทคู่ค้า 8 ข้อ เช่น การอบรมเรื่องการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลสำหรับพนักงานของบริษัทคู่ค้า หรือผู้รับเหมาช่วงที่ทำงานก่อสร้าง ติดตั้ง หรือบำรุงรักษาเสาสัญญาณ ณ พื้นที่เสาส่งสัญญาณของดีแทค เป็นต้น

3.การประชุมรายไตรมาสร่วมกับบริษัทคู่ค้าที่ให้บริการการก่อสร้าง ติดตั้ง หรือบำรุงรักษาเสาส่งสัญญาณ ซึ่งถือเป็นบริษัทคู่ค้ากลุ่มใหญ่ของดีแทค โดยจะเป็นการรายงานสถานการณ์ปัจจุบัน แผนการดำเนินงานด้านความปลอดภัย ขั้นตอนและวิธีการบังคับใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลสำหรับพนักงานของบริษัทคู่ค้าหรือผู้รับเหมาช่วง รวมไปถึงการรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ เพื่อให้มีการปรับปรุงการดำเนินงานร่วมกันระหว่างดีแทคและบริษัทคู่ค้า

 

ดีแทคมีแผนขยายการประชุมรายไตรมาสร่วมกับบริษัทคู่ค้าจากกลุ่มธุรกิจประเภทอื่นๆ ในอนาคต เพื่อทำให้การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานสามารถตอบสนองต่อความคาดหวังผู้มีส่วนได้ส่วนเสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างคุณค่าร่วมได้อย่างแท้จริง

เอกสารเผยแพร่

ท่านสามารถดาวน์โหลดเอกเอกสารได้จาก Link ด้านล่างนี้ 

การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน

การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน

DOCX 0.03 MB