จุดยืนของดีแทคและ
แนวปฏิบัติตามคำขอ
ของหน่วยงานภาครัฐ

ดีแทคในฐานะผู้ให้บริการโทรคมนาคม ถือเป็นหน้าที่สำคัญในการเคารพในหลักความเป็นส่วนตัว (Privacy) และเสรีภาพในการแสดงออกสำคัญ (Freedom of Expression) เราจึงปฏิบัติและดำเนินงานอย่างเคร่งครัด โดยพัฒนากระบวนการการทำงาน ตลอดจนหารือถึงความท้าทายต่างๆ กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างสม่ำเสมอ

หลักความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพในการแสดงออก

“ความเป็นส่วนและเสรีภาพในการแสดงออก” เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่สำคัญและเป็นแก่นในการดำเนินธุรกิจโทรคมนาคมของดีแทค นอกจากนี้ การส่งเสริมให้ลูกค้าและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรับรู้ถึงแนวคิดและหลักปฏิบัติของเรายังถือเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบสำคัญในการรักษาไว้ซึ่งหลักการที่กล่าวมาอีกด้วย

การให้คำมั่นและทำงานอย่างเป็นระบบเพื่อรักษาหลักการดังกล่าวอยู่บนพื้นฐานแนวปฏิบัติสากล ได้แก่ UNGP หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ และ Global Network Initiative หรือ GNI ซึ่งเป็นมาตรฐานมที่ผู้ประกอบการโทรคมนาคมทั่วโลกใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติงานเพื่อรักษาไว้ซึ่งความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพในการแสดงออก เราทุ่มเททำงานอย่างหนักในทุกขั้นตอนการทำงาน เพื่อรักษาไว้ซึ่งความเป็นมืออาชีพ ความปลอดภัย และการเคารพต่อข้อมูลลูกค้าทุกท่าน

เรามีหลักปฏิบัติอย่างไร เพื่อธำรงไว้ซึ่งความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพในการแสดงออก

หน่วยงานภาครัฐของไทยมีอำนาจตามกฎหมายเพื่อเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน โดยดีแทคถือครองอยู่ภายใต้สัญญาบริการ หรืออีกนัยหนึ่ง ดีแทคในฐานะผู้ให้บริการโทรคมนาคมจำเป็นต้องปฏิบัติตามคำสั่งจากหน่วยงานภาครัฐของไทยภายใต้อำนาจกฏหมาย ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพในการแสดงออกของท่าน โดยลักษณะคำขออาจแบ่งออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้

 

1

การขอชุดข้อมูลผู้ใช้บริการ (Historical data)

ดีแทคอาจอนุญาตให้หน่วยงานภาครัฐเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เช่น การเข้าถึงประวัติการใช้งาน และการตรวจสอบข้อมูลการใช้งาน โดยหน่วยงานนั้นๆต้องเป็นหนวยงานรัฐ และ มีอำนาจตามกฎหมายเท่านั้น เราเข้าใจดีว่าการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อภารกิจหนึ่งๆ หน่วยงานภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นการปราบปรามปัญหาอาชญากรรม พิทักษ์ความั่นคงของชาติ ตลอดจนการค้นหาบุคคลสูญหาย ซึ่งล้วนเป็นปัญหาที่สังคมต้องการการแก้ไขและข้อมูลที่เราถือครองอยู่นั้นจะเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหาสืบไป สถานการณ์ดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นนั้นถือเป็นความท้าทายสำคัญอย่างยิ่งต่อดีแทคในการรักษาสมดุลระหว่างความเป็นส่วนตัวและประโยชน์ของหน่วยงานภาครัฐ เมื่อเกิดกรณีหรือสถานการณ์เช่นนี้ขึ้น ดีแทคได้ยึดมาตรฐานขั้นสูงในการพิจารณาตามแนวปฏิบัติที่ระบุตามหลัก UNGP และ GNI

1

การขอชุดข้อมูลผู้ใช้บริการ (Historical data)

ดีแทคอาจอนุญาตให้หน่วยงานภาครัฐเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เช่น การเข้าถึงประวัติการใช้งาน และการตรวจสอบข้อมูลการใช้งาน โดยหน่วยงานนั้นๆต้องเป็นหนวยงานรัฐ และ มีอำนาจตามกฎหมายเท่านั้น เราเข้าใจดีว่าการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ต่อภารกิจหนึ่งๆ หน่วยงานภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นการปราบปรามปัญหาอาชญากรรม พิทักษ์ความั่นคงของชาติ ตลอดจนการค้นหาบุคคลสูญหาย ซึ่งล้วนเป็นปัญหาที่สังคมต้องการการแก้ไขและข้อมูลที่เราถือครองอยู่นั้นจะเป็นกุญแจสำคัญในการแก้ไขปัญหาสืบไป สถานการณ์ดังกล่าวที่อาจเกิดขึ้นนั้นถือเป็นความท้าทายสำคัญอย่างยิ่งต่อดีแทคในการรักษาสมดุลระหว่างความเป็นส่วนตัวและประโยชน์ของหน่วยงานภาครัฐ เมื่อเกิดกรณีหรือสถานการณ์เช่นนี้ขึ้น ดีแทคได้ยึดมาตรฐานขั้นสูงในการพิจารณาตามแนวปฏิบัติที่ระบุตามหลัก UNGP และ GNI

2

การปิดโครงข่าย (Network shutdown)

หน่วยงานภาครัฐอาจยื่นคำขอให้ปิดโครงข่าย (Network shutdown) คำขอดังกล่าวจำเป็นต้องมีอำนาจศาล ซึ่ง ในบางสถานการณ์ หน่วยงานภาครัฐอาจขอให้ดีแทคจำกัดการให้บริการโครงข่ายในบางพื้นที่ด้วยเหตุผลความมั่นคงของชาติ เช่น เหตุก่อการร้าย เป็นต้น ซึ่งดีแทคมีการประเมินและเลี่ยงผลกระทบในการสื่อสารของผู้ใช้บริการ

2

การปิดโครงข่าย (Network shutdown)

หน่วยงานภาครัฐอาจยื่นคำขอให้ปิดโครงข่าย (Network shutdown) คำขอดังกล่าวจำเป็นต้องมีอำนาจศาล ซึ่ง ในบางสถานการณ์ หน่วยงานภาครัฐอาจขอให้ดีแทคจำกัดการให้บริการโครงข่ายในบางพื้นที่ด้วยเหตุผลความมั่นคงของชาติ เช่น เหตุก่อการร้าย เป็นต้น ซึ่งดีแทคมีการประเมินและเลี่ยงผลกระทบในการสื่อสารของผู้ใช้บริการ

3

การปิดเว็บไซต์ (Website blocking)

ดีแทคอาจได้รับคำขอจากหน่วยงานภาครัฐในการขอให้พิจารณา (Censorship) จำกัดการเข้าถึง (blocking) เว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น การขอให้พิจารณาการเข้าถึงเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาลามกอนาจารเด็ก ซึ่งมีศักยภาพในการช่วยหยุดยั้งอาชญากรรมได้ แต่ขณะเดียวกัน คำขอประเภทนี้ก็อาจเป็นความเสี่ยง หากคำขอดังกล่าวเข้าข่ายการเข้าถึงเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาทางการเมือง ทั้งนี้ดีแทคจะปฎิบัติตามต่อเมื่อมีคำสั่งจากกศาลเท่านั้น

3

การปิดเว็บไซต์ (Website blocking)

ดีแทคอาจได้รับคำขอจากหน่วยงานภาครัฐในการขอให้พิจารณา (Censorship) จำกัดการเข้าถึง (blocking) เว็บไซต์ ตัวอย่างเช่น การขอให้พิจารณาการเข้าถึงเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาลามกอนาจารเด็ก ซึ่งมีศักยภาพในการช่วยหยุดยั้งอาชญากรรมได้ แต่ขณะเดียวกัน คำขอประเภทนี้ก็อาจเป็นความเสี่ยง หากคำขอดังกล่าวเข้าข่ายการเข้าถึงเว็บไซต์ที่มีเนื้อหาทางการเมือง ทั้งนี้ดีแทคจะปฎิบัติตามต่อเมื่อมีคำสั่งจากกศาลเท่านั้น

4

การขอความร่วมมือในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลของทางราชการ (Distribution of Authority Information)

ดีแทคอาจได้รับคำขอจากหน่วยงานภาครัฐ เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์กิจการและพันธกิจของภาครัฐ โดยการกระจายข่าวสารของหน่วยงานรัฐนั้นจะถูกพิจารณา โดยคำนึงจากประโยชน์ของส่วนรวมและประโยชน์สูงสุดของประชาชนเป็นอันดับแรก ตัวอย่างเช่น การเตือนภัยน้ำท่วมผ่านข้อความสั้น (SMS) บริการดังกล่าวถือเป็นภารกิจทางมนุษยธรรมในขณะเกิดภัยธรรมชาติ เราเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าการกระจายข้อมูลข่าวสารดังกล่าวมีความสำคัญต่อผู้ประสบภัย

4

การขอความร่วมมือในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลของทางราชการ (Distribution of Authority Information)

ดีแทคอาจได้รับคำขอจากหน่วยงานภาครัฐ เพื่อช่วยประชาสัมพันธ์กิจการและพันธกิจของภาครัฐ โดยการกระจายข่าวสารของหน่วยงานรัฐนั้นจะถูกพิจารณา โดยคำนึงจากประโยชน์ของส่วนรวมและประโยชน์สูงสุดของประชาชนเป็นอันดับแรก ตัวอย่างเช่น การเตือนภัยน้ำท่วมผ่านข้อความสั้น (SMS) บริการดังกล่าวถือเป็นภารกิจทางมนุษยธรรมในขณะเกิดภัยธรรมชาติ เราเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าการกระจายข้อมูลข่าวสารดังกล่าวมีความสำคัญต่อผู้ประสบภัย

อย่างไรก็ตาม การเผยแพร่ข้อความดังกล่าวจะถูกปฏิเสธในกรณีที่คำขอมีเนื้อหาเข้าข่ายโฆษณาชวนเชื่อหรือส่งผลทางการเมือง ทั้งนี้ ท่านที่สนใจสามารถค้นหารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ รายงานคำขอของหน่วยงานภาครัฐในการเข้าถึงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ หมวดภาพรวมกฎหมาย

เราประสานงานกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างไร

ดีแทค เราเชื่อว่าการแก้ไขปัญหาและรับมือกับความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับคำขอของหน่วยงานภาครัฐจำเป็นต้องสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้ส่วนเกี่ยวข้องภายนอก ตามที่ระบุไว้ในหลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติหรือ UNGP หน่วยงานภาครัฐมีหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ดีแทค เราเชื่อว่าคำแถลงดำกล่าวควรครอบคลุมถึงหลักปฏิบัติในการออกคำขอของหน่วยภาครัฐ อันส่งผลโดยตรงต่อการธำรงไว้ซึ่งความเป็นส่วนตัวและเสรีภาพในการแสดงออก

เราตระหนักดีกว่า ความชอบธรรมในการใช้อำนาจจำเป็นต้องอาศัยกระบวนการที่ดี ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบทางสิทธิของผู้ใช้บริการ ด้วยเหตุนี้ เราจึงให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนความเห็นเชิงสร้างสรรค์กับหน่วยงานภาครัฐ และเราสนับสนุนและผลักดันให้เกิดการเจรจาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเชิงนโยบายกับประชาคมโลก

นอกจากนี้ เราเชื่อว่า การสร้างการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ ทั้งภาคประชาสังคม (NGOs) องค์กรระหว่างประเทศ (IGOs) และนักวิชาการ จะช่วยส่งเสริมให้เกิดพัฒนาแนวปฏิบัติที่ชัดเจน เป็นรูปธรรม ทั้งยังสมเหตุสมผลในทางปฏิบัติ

ในแง่ของการประเมินแนวทางการดำเนินงานอันเกี่ยวข้องกับคำขอของหน่วยงานภาครัฐ ดีแทคได้จัดให้มีการประเมินหลักปฏิบัติที่สอดคล้องกับมาตรฐาน GNI เป็นระยะ ๆ

เราเปิดเผยคำขออะไรบ้าง

ความเปิดกว้าง (Openness) เป็นหลักเกณฑ์สำคัญที่ดีแทคยึดถือเพื่อใช้ในการบริหารจัดการกับความท้าทายที่มาพร้อมกับคำขอของหน่วยงานภาครัฐ เรามุ่งมั่นอย่างยิ่งในการพัฒนากระบวนการการเปิดเผยข้อมูล (Disclosure of Information) อย่างต่อเนื่อง สำหรับรายงานอื่นที่มุ่งเน้นประเด็นด้านความเป็นส่วนตัวและเสรึภาพในการแสดงออก อันเป็นผลเกี่ยวเนื่องจากคำขอจากหน่วยงานภาครัฐ ท่านสามารถค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ รายงานการเปิดเผยคำขอจากหน่วยงานภาครัฐประจำปี (2562, 2561, 2560, 2559, 2558, 2557)