การสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

เพื่อให้มั่นใจว่าการดำเนินธุรกิจของดีแทคได้สร้างคุณค่าและประโยชน์สูงสุดแก่เศรษฐกิจและสังคมไทยอย่างแท้จริงตามหลักปฏิบัติในนโยบายด้านความยั่งยืน ดีแทคจึงได้ระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 9 กลุ่ม ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับการดำเนินงานขององค์กร ได้แก่ ผู้ถือหุ้นและนักลงทุน พนักงาน ชุมชนและสังคม ลูกค้า บริษัทคู่ค้า เจ้าหนี้ หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานกำกับดูแล และคู่แข่ง  โดยดีแทคได้กำหนดสิทธิของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มไว้ด้วย

บริษัทได้มีวิธีการระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยเริ่มจากการระบุประเด็นสำคัญทางธุรกิจ (Materiality) และประเมินกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งภายในและภายนอกบริษัท หลังจากนั้นจึงสร้างกระบวนการเพื่อให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มได้เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดแนวทางการดำเนินธุรกิจ สร้างความเข้าใจอันดีและความร่วมมือระหว่างบริษัทและกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย อันเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน สร้างความเชื่อมั่นและความมั่นคงแก่บริษัทและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของบริษัทในระยะยาว ซึ่งรวมไปถึงการดูแลเพื่อให้มั่นใจว่าผู้มีส่วนได้ส่วนเสียแต่ละกลุ่มได้รับการคุ้มครองตามสิทธิที่ดีแทคได้กำหนดไว้

ดีแทคได้สร้างกระบวนการและช่องทางต่างๆ ให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามามีส่วนร่วมในการสะท้อนความต้องการและความคาดหวังอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะความคิดเห็นของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถสะท้อนให้เห็นผลกระทบที่แท้จริงจากการดำเนินงานขององค์กร ในขณะเดียวกันดีแทคได้ดำเนินการเพื่อตอบสนองต่อความคาดหวัง และมีผลสำเร็จของการดำเนินงาน ดังรายละเอียดต่อไปนี้